ปก

ปก

บำบัดปวดด้วยท่าละหมาด

การป้องกันและรักษาอาการปวดด้วยท่าของการละหมาด
ท่าของการละหมาด

  1.  การสุญูด
  2.  การพับขา ตอนนั่ง และตอนก้ม                          


     
การสุญูด
คือการก้มที่อวัยวะเจ็ดส่วนชิดติดพื้น ได้แก่ ศีรษะ สองมือ สองเข่า สองเท้า ท่าสุญูดนี้ทำให้ต่อมใต้สมองหลั่งสารเอ็นโดฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีความสุข หลั่งออกมากที่สุดตามแรงโน้มถ่วงโลก ประกอบกับตอนสุญูดนี้จะมีการพับเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งทำให้ออกซิเจนเข้าไปในร่างกายในมาก ระบบการหายใจคล่องตัวมากที่สุด
นอกจากนี้มีงานวิจัยท่าสุญูดนี้ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย พบว่าจังหวะการเต้นของหัวใจเต้นเบาที่สุด ซึ่งหักล้างผลการวิจัยอื่นๆ ที่ระบุว่าท่านอนเป็นท่าที่จังหวะการเต้นของหัวใจเต้นช้าที่สุด

                
การพับขาตอนนั่ง การพับขาตอนก้ม
การพบขานั้นทำให้ระบบหลอดลมขยายตัว รองรับออกซิเจนเข้าไปในร่างกายมาก เป็นท่าที่ทำให้ร่างกายหายใจเข้าได้มากที่สุด
เมื่อหายใจเข้าได้มาก ก็มีผลทำให้ออกซิเจนเข้าไปในร่างกายได้มาก ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบการฟอกโลหิตในปอดทำได้มาก เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงระบบร่างกายต่างๆ ได้มากขึ้น ร่างกายแข็งแรงขึ้น

การปรับสมดุลโครงสร้าง
ใช้อิริยาบถให้ถูกต้อง เช่นการนั่ง นอน ยืน เดิน ให้เหมาะสม
การเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกต้อง เช่นจากท่านั่งเป็นนอน หรือยืน จากท่านอนเป็นนั่งหรือยืนเป็นต้น
การเปลี่ยนอิริยาบถเหล่านี้ให้ใช้ท่าทางในการละหมาดทั้งหมด ทำให้สามารถป้องกัน และแก้ไขโรคปวดเท้า ปวดขา ปวดหลังได้
วิธีการแก้ปัญหาอาการปวดต่างๆนั้น เราแก้ตามหลักดังนี้คือ
แก้หดเส้นหดสาย ด้วยการยืดเส้นยืดสาย
กำ แบ
ก้ม เงย
หด ยืด เป็นต้น
การปรับสมดุลโครงสร้างโดยการใช้ท่าละหมาด
การละหมาดทำให้โครงสร้างร่างกายมีมุมองศาต่างๆกัน และพบว่าเมื่อรวมองศาต่างๆ ที่ใช้ในการละหมาดนั้นเป็น360 องศาพอดี
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซียค้นพบว่า การใช้ท่าทางในการละหมาดสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้ดีคือ
-      โรคปวดหลัง
-      โรคนกเขาไม่ขัน