ปก

ปก

มูลเหตุของโรค

มูลเหตุของโรค

มูลเหตุหรือต้นเหตุของโรคนั้น ตำราแพทย์โบราณได้ว่าไว้ 8 ประการดังนี้
1. อาหาร
2. อิริยาบถ
3. ความร้อน ความเย็น
4. อดนอน อดข้าว อดน้ำ
5. กลั้นอุจจาระ กลั้นปัสสาวะ
6. ทำงานเกินกำลัง
7. ความโศกเศร้าเสียใจ
8. โทสะมาก
                                     อาหาร
1.           ชนิดของอาหารและการเลือกอาหารที่มีคุณภาพ
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และถูกสุขลักษณะ
-      ไม่บริโภคอาหารที่บูดเน่า
-      ของหมักดอง
-      อาหารไม่สุก
-      อาหารขยะ
2.           วิธีการรับประทานอาหาร
-      รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-      รับประทานอาหารไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป
-      ระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป
3.           วิธีการปรุงอาหาร
-      ต้องปรุงอาหารสด สะอาด
-      ไม่ใช้เตาไมโครเวฟ
-      ไม่ใช้วิธีปิ้ง ย่าง เผา
อิริยาบถ
อิริยาบถหรือกริยาท่าทางต่างๆ เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน ให้เหมาะสม
-      นั่งมากเกิน 4 ชั่วโมง จะทำให้ยีนที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกายเริ่มหยุดการทำงาน
-      นอนมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า
-      ยืนมากเกินไป ทำให้เส้นเลือดขอดได้
-      เดินมากเกินไป ทำให้ร่างกายเมื่อยล้า
ความร้อน ความเย็น
1.    ความร้อน ความร้อนมากเกินไปทำให้ร่างกายเสียน้ำและเสียเกลือแร่ได้ง่าย
2.    น้ำแข็ง ทำให้เซลล์ในร่างกายหดตัว
 อดนอน อดข้าว อดน้ำ
1.    อดนอน ผลเสียของการอดนอนมีดังนี้
-      ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
-      ความจำแย่ลง เพราะฮิปโปแคมปัส ที่ทำหน้าที่ถ่ายโอนสิ่งที่เรียนรู้ในแต่ละวัน จะทำงานตอนเราหลับเท่านั้น
-      มีน้ำตาลในเลือดมากขึ้น
-      อ้วนขึ้น
-      หิวบ่อยขึ้น
-      เครียด
-      แก่เร็ว
2.    อดข้าว อดอาหารมากเกินไป ขาดสารอาหาร เป็นโรคเช่น มารัสมัส และควาชิโอก่อ
3.    อดน้ำ ทำให้เลือดข้น จับตัวเป็นก้อนได้ง่ายและมีโอกาสเป็นหัวใจวายได้
กลั้นอุจจาระ กลั้นปัสสาวะ
-      การกลั้นอุจจาระ ทำให้ของเสียย้อนกลั้นเข้ากระแสเลือดและระบบอื่นๆในร่างกาย
-      การกลั้นปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะหย่อนยาน และติดเชื้อได้ง่าย
ทำงานเกินกำลัง
ทำงานที่หนักเกินไป ทำให้อวัยวะทำงานมาก เหนื่อยล้า ระบบร่างกายทรุดโทรม มีของเสียสะสมในร่างกายมากเช่น กรดแลคติกในกล้ามเนื้อ

ความโศกเศร้าเสียใจ
อารมณ์ที่โศกเศร้า มีผลต่อจิตใจและจะกระทบกับระบบร่างกายโดยรวม
โทสะมาก
อารมณ์โกรธจะหลั่งสารความทุกข์ ไม่สามารถควบคุมจิตใจได้ การควบคุมระบบประสาทซิมพาเธติกและพาราซิมพาเธติกไม่สมดุล