ปก

ปก

อาหารเป็นยา

อาหารเป็นยา

การใช้อาหารเป็นยา ใช้อาหารเพื่อให้สุขภาพดีนั้นมีมาแต่โบราณแล้ว แต่คนเราส่วนใหญ่จะละเลยเรื่องนี้เพราะกิจวัตรประจำวันที่เร่งรีบของเรานั้นเอง ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักมนุษย์กันใหม่ว่า มนุษย์นั้นมีลักษณะทางกายภาพเป็นอย่างไรบ้าง
-          มนุษย์ควรกินเนื้อหรือควรกินพืชเป็นอาหาร ?
-          เสือกินเนื้อเป็นอาหาร วัวกินหญ้าเป็นอาหาร
-          เสือมีฟันเป็นเขี้ยว วัวมีฟันแบบคบเคี้ยว
-          เสือมีลำไส้สั้น วัวมีลำไส้ยาวมาก
-          แม้มนุษย์แปลงหน้าตาให้เหมือนเสือได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนอวัยะภายในให้เหมือนเสือได้
-          มนุษย์มีอวัยวะภายในเหมือนวัว ควรรับประทานพืชผักมากกว่าเนื้อสัตว์  
-          สรุป มนุษย์มีลักษณะเหมือนวัว แต่อุปนิสัยอยากเหมือนเสือ !! 

การดำรงชีวิตในปัจจุบันทำให้พฤติกรรมต่างๆของคนเราเปลี่ยนแปลงไป เช่น
-       จากที่รับประทานข้าวหมากรากไม้ ผลไม้โบราณอาหารง่ายๆ มาเป็นอาหารแบบฟาส์ทฟู้ดน้ำอัดลม อาหารหมักดอง
-       การปลูกผัก ผลไม้กินเอง หรือหาผักตามรั้วบ้าน มาเป็นการปลูกผักแบบอุตสาหกรรม
-       การเลี้ยงไก่ เป็ด ห่าน ไว้รับประทานเอง มาเป็นการเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรม
-       เดิมเป็นการผลิตเพื่อการบริโภค ปัจจุบันเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่งต้องเร่งผลผลิต และลดค่าใช้จ่าย เพื่อกำไรมากๆ
-       เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มน้ำหนักให้เนื้อสัตวโดยการฉีดฮอร์โมน
-       มีการผลิตคราวละเป็นจำนวนมาก
-       การปลูกพืชผัก มีการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมน มากขึ้นเป็นลำดับ
เมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไป ทำให้ของเสียเก็บตกในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นโรคต่างๆได้ปัจจุบันโรคต่างๆ มาจากอาหารและพฤติกรรมการกินอาหารประมาณ 80% มาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ 20%
การรู้จักศาสตร์อาหารต่างๆ ทำให้เราสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายเราได้  ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกอาหารมีหลายศาสตร์ แต่ทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกันคือ การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกกับเรา เพื่อปรับสมดุลนั่นเอง เราลองมาทำความรู้จักศาสตร์เหล่านี้ได้แก่


  • อาหารกรด อาหารด่าง
  • อาหารฤธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น  
  • การแพ้อาหารแบบแอบแฝง  

การรู้จักการเลือกอาหารดังกล่าวได้ถูกต้อง ทำให้เรามีสุขภาพดีได้ ได้แก่
-       การเลือกรับประทานอาหารประเภทกรดไม่เกิน 20% และรับประทานอาหารด่างเกิน 80%
-       เลือกรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนไม่เกิน 20% และเลือกรับประทานอาหารฤทธิ์เย็นเกิน 80%
                                  
                 
                                                   อาหารกรด ด่าง
ความเป็นกรดเป็นด่าง ค่า pH”  มาจากคำว่า “Power of Hydrogen”  ในภาษาอังกฤษ
                     เป็นกลาง    pH เท่ากับ 7
                   ด่าง           pH มากกว่า 7
                   กรด           pH น้อยกว่า 7
เลือดในร่างกายเรามีค่า pH ประมาณ 7.4   ดังนั้นเราควรเลือกอาหารเพื่อปรับสมดุลให้ เป็นด่างอ่อนๆ


  •  ถ้าร่างกายต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดนานๆ กลไกการควบคุมสมดุลก็จะสูญเสียไป ทำให้กรดสะสมในร่างกาย 
  •  สาเหตุของความเจ็บป่วยบางอย่างเช่น  ปวดหัว ข้ออักเสบ ความเหนื่อยล้า ภาวะกระดูกพรุน กลไกนี้ทำให้ออกซิเจนในเซลล์น้อยลง
  • เมื่อเซลล์ขาดออกซิเจนนานๆจะก่อให้เกิดความผิดปกติ จนถึงการเกิดมะเร็ง
  • เซลล์ในร่างกายที่แข็งแรงจะมีค่าเป็นด่างอ่อนๆ  ในขณะที่เซลล์มะเร็งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด

4 สาเหตุที่ทำให้กรดสูง

  • ความเครียด
  • สารพิษ
  • เชื้อโรค
  • อาหารที่เรารับประทาน

อาหารที่เป็นกรด

  • เนื้อ นม ไข่
  • น้ำชา กาแฟ
  •  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ผงชูรส
  • ของหมักดอง
  • น้ำส้มสายชู
  • แป้ง
  • เมล็ดข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ขัดสีจนขาวแล้ว
  • น้ำมัน ไขมันทุกชนิด และอาหารทอดน้ำมัน โดยเฉพาะ Fast food
  • อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำตาลทรายขาว  
  • ผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลม


  
อาหารที่เป็นด่าง

  • พืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลืองเป็นด่างมากที่สุด แพทย์โบราณจึงใช้ถั่วเหลือง ทำเป็นอาหารนานาชนิดเพื่อช่วยปรับสภาพผู้ป่วยที่ร่างกายเป็นกรดมาก            
  • ผักทุกชนิด โดยเฉพาะผักใบเขียว ยอดอ่อนของผักต่างๆ ช่วยซึมซับสิ่งสกปรกและขับออกได้ดี
  • มะละกอ มีเอ็นไซม์ช่วยย่อยอาหาร มีประโยชน์อย่างยิ่งต่ออวัยวะอาหารและขับถ่าย   
  • แอปเปิ้ล มีโพแทสเซียม สลายสารพิษในปาก ทำความสะอาดเหงือก
  • สับปะรด มีสารโบรเมลิน ช่วยทำความสะอาดตับอ่อน
  • มะเขือเทศ มีความเป็นด่างสูง ช่วยลดความเป็นกรดสูงในร่างกายได้ดี
  • กล้วย มีโพแทสเซียมมาก บำรุงประสาท
  • มะพร้าว ช่วยบำบัดโรคที่เกิดจากความเป็นกรดสูง
  • มะนาว แม้ว่าจะมีความเปรี้ยวเป็นกรดในตัวเอง แต่มันจะกลายเป็นด่างเมื่ออยู่ในกระบวนการย่อย
  • แพทย์แผนโบราณจึงมักใช้น้ำมะนาวเป็นยาในการบำบัดโรค
  • ส้ม เป็นอาหารที่ช่วยในการทำความสะอาด มีวิตามินซีสูง


                  อาหารฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น
อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
¢      ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล)   ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง
กลุ่มโปรตีน
¢      เนื้อ นม ไข่  น้ำปลา ปลาร้า ปลาเค็ม ไข่เค็ม ซีอิ้ว น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ กะทิ
กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
¢      กระชาย กระเพรา กระเทียม ขิง ข่า ขมิ้น ผักชี โหระพา พริก พริกไทย  
 ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน เช่น
¢       กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว สะตอ
กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน

ขนุนสุก เงาะ ทุรียน ทับทิมแดง ลิ้นจี่ ลำไย 


อาหารฤทธิเย็น

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง
กลุ่มโปรตีน
ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ลูกเดือย
กลุ่มผักฤทธิ์เย็น
กระหล่ำดอก กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ หัวไชเท้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม
หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย
ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกแค ใบเตย สายบัว ผักบุ้ง
บล๊อกเคอรี่
บวบ ฟักทองอ่อน
มะเขือเปราะ มะเขือยาว  มะเขือเทศ  มะเขือพวง
 รางจืด ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ
กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น
แก้วมังกร กระท้อน แคนตาลูป ชมพู่ แตงโม
มังคุด น้ำมะพร้าว ลางสาด  สับปะรด
สตรอเบอรี่  แอปเปิ้ล
ส้มโอ ส้มเช้ง


                  การแพ้อาหารแบบแอปแฝง

¢    เป็นการหาการแพ้อาหารตาม IgE และ IgG  ตรวจด้วยเครื่อง Dianel สามารถตรวจเช็คได้ที่คลินิก
¢    สามารถระบุชนิดอาหารที่แพ้ได้ทันที จากการตรวจการแพ้อาหารมาหลายปี สรุปได้ว่าอาหารที่คนไทยแพเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ นมวัว และผลิตภัณฑ์ของนม ยีสต์ ไข่แดง  
¢  เราควรงดอาหารที่แพ้อย่างเด็ดขาดอย่างน้อย 6 เดือน

 คุณมีสิทธิเลือกว่าอยากให้สุขภาพ และรูปร่างเป็นแบบใด
รูปร่างสเลนเดอร์ รูปร่างอ้วน หรือผอม